งานพัฒนานักศึกษา

ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้ :

ประวัติ อ.ควน ทวนยก ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2553
ฐานข้อมูลจังหวัดสงขลา
ทำเนียบศิลปินแห่งชาติภาคใต้
ประเพณีท้องถิ่นภาคใต้
ฐานข้อมูลเครือข่ายมโนราห์ หนังตะลุง
ทะเบียนศิลปินปี่ และนักดนตรีพื้นบ้าน

ประเพณีเปลี่ยนผ้าพระสามองค์

       พระ สามองค์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอเทพา สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีพยานหลักฐานปราฏแน่ชัด แต่มีผู้เฒ่าผู้แก่ยืนยันว่า เมื่อจำความได้ก็เห็นพระสามองค์อยู่คู่กับวัดแล้ว นามพระสามองค์ องค์ขวามือ คือจังหันองค์กลาง คือ แก่นจันทร์องค์ซ้ายมือ คือ เกสรประดิษฐานอยู่ ณ วัดเทพาไพโรจน์ หมู่ที่ 4 ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

             พระ สามองค์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่โบราณกาล ในเดือนเมษายนของทุกปี ประชาชนชาวอำเภอเทพา และอำเภอใกล้เคียงจะร่วมกันทรงน้ำและเปลี่ยนผ้าให้พระสามองค์เป็นประจำ จนกลายเป็นประเพณี ซึ่งเรียกว่า ประเพณีเปลี่ยนผ้าพระสามองค์ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 9 เมษายน ของทุกปี


ประเพณีรับเทียมดา                                                                                           

                ประเพณี รับเทียมดา เป็นประเพณีที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่า ในหมู่บ้านจะมีเทวดามาคุ้มครองรักษาชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินได้คล่อง โดยเชื่อว่าเทวดาที่มาอยู่คุ้มครองจะกลับไปในวันขึ้นปีใหม่ไทย (13 เมษายน)  และเทวดาองค์ใหม่ก็จะมาอยู่คุ้มครองรักษาต่อจากเทวดาองค์เก่า ชาวบ้านจึงได้จัดพิธีรับ-ส่งเทวดา ขึ้นในวันดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป เรียกว่า ประเพณีรับเทวดาเพื่อ แสดงความความกตัญญูกตเวทีต่อเทวดาที่ได้มาคุ้มครอง และความเป็นสิริมงคลในหมู่บ้าน โดยมีความเชื่อว่า บ้านใด ครอบครัวใด ได้มาร่วมพิธีรับเทียมดา ก็จะทำให้บุคคลในครอบครัวนั้นอยู่เย็นเป็นสุข

               ประเพณีรับเทียมดา มีอุปกรณ์ในการประกอบพิธี ประกอบด้วย

               1. ร้าน สำหรับจัดวางเครื่องบวงสรวงเทวดา ทำด้วยไม่ไผ่สูงประมาณ 1 เมตร ปูด้วยใบตอง

               2. เครื่อง บวงสรวง ประกอบด้วย ข้าวสุกที่ยังไม่มีใครตักกิน เรียกว่า ข้าวปากหม้อ ปลาย่างทั้งตัว เรียกว่า ปลามีหัวมีหาง น้ำดื่ม เหล้า ดอกไม้ ธูปเทียน โดยจะนำสิ่งเหล่านี้ใส่ภาชนะที่ทำด้วยใบตอง แล้วจัดวางในถาด นำไปวางบนร้านที่ทำพิธี

                3. ธง ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของการรับ-ส่งเทวดา เป็นธงรูปสามเหลี่ยมทำด้วยกระดาษสีขาว จำนวน 2 ธง จะมีรวงข้าว 3 รวง หมากพลู 1 คำ ผูกติดไว้ที่ปลายธง ธงที่ 1 จะเขียนว่า ข้าพเจ้า นาย...นาง....ได้มารับเทียมดาองค์ใหม่แล้ว ส่วนธงที่ 2 จะเขียนว่า ข้าพเจ้า นาย...นาง... ได้มาส่งเทียมดาองค์เก่าแล้ว

              ก่อน จะถึงการประกอบพิธีกรรม หนุ่มสาวและเด็กๆ ก็จะสนุกสนานด้วยการตั้งขบวนเดินไปตามแต่ละบ้าน และส่งเสียงร้อง รับเทียมดากันเหย... เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ชาวบ้านเตรียมตัวไปพร้อมกันในสถานที่ประกอบพิธี หลังจากนั้นชาวบ้านก็จะนำถาดที่ใส่เครื่องบวงสรวงมายังสถานที่ประกอบพิธี แล้วบรรจงวางของที่นำมาบวงสรวงลงบนร้านที่ทำไว้ แล้วเริ่มประกอบพิธี โดยผู้นำประกอบพิธีจะนำกล่าวนะโมฯ สามจบ แล้วต่อด้วยบทสวดชุมนุมเทวดา จบแล้วผู้ขับร้องเพลงบอกก็จะขับร้องเพลงเชิญเทวดา เมื่อจบแล้ว ทุกคนก็จะนั่งประนมมือด้วยอาการสงบ รอบๆ ร้าน แล้ว อธิษฐานขอให้เทวดาคุ้มครอง และขอสิ่งที่ปรารถนาแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน และนำธงที่ 1 ที่เป็นธงรับเทียมดา ไปปักไว้ที่หลังคาบ้าน และมีความเชื่อว่าเทวดาได้มาคุ้มครองปกปักษ์รักษาแล้ว ครอบครัวก็จะอยู่เย็นเป็นสุข


ประเพณีแข่งเรือยาว

               ประเพณี แข่งเรือยาวบางกล่ำ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา เนื่องจากในอดีตพื้นที่อำเภอบางกล่ำ ในพื้นที่ตำบลบางกล่ำ ตำบลแม่ทอม เป็นที่ราบลุ่ม มีลำคลองออกสู่ทะเลสาบหลายสาย เช่น คลองบางกล่ำ คลองท่าเมธุ คลองคูเต่า ประชาชนในพื้นที่แถบนี้จะใช้เรือเป็นพาหนะในการติดต่อไปมาหาสู่ และใช้ขนส่งผลผลิต

               การแข่งเรือยาว จะจัดบริเวณท่าน้ำวัดบางหยี หมู่ที่ 4 ตำบล บางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยระยะแรกจะทำหลังจากออกพรรษา ซึ่งเป็นฤดูฝน มีน้ำหลาก ชาวบ้านที่อาศัยในแถบสายน้ำบางกล่ำ-แหลมโพธิ์จะแข่งเรือยาวขึ้นในวันทอดกฐิน เนื่องจากวันดังกล่าวมีประชาชนมาร่วมทำบุญมากมาย เรือของพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาทอดกฐิน ก็จะเข้าร่วมแข่งขันจนเกิดเป็นประเพณีแข่งเรือยาวขึ้น ต่อมาได้มีการแข่งขันกันในระหว่างหมู่บ้าน ขยายออกไปในอำเภอใกล้เคียง และได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นเป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นประเพณีแข่งเรือยาวประจำปี

               ปัจจุบันการแข่งขันเรือยาว จะกำหนดแข่งขันเป็นประจำทุกปี โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภท 7 ฝีพาย 9 ฝีพาย และ 12 ฝีพาย และได้เปลี่ยนจากการแข่งขันจากวันทอดกฐิน มาเป็นในวันเสาร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี


ประเพณีรับ-ส่งตายาย

                 ประเพณี รับ - ส่งตายาย เป็นประเพณีทำบุญวันสาร์ทในเดือนสิบ   เป็น ประเพณีที่แสดงออกถึงความกตัญญูอย่างสูงยิ่งต่อบรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่ชาวบ้านทุกครอบครัวไปทำบุญที่วัดเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ ล่วงลับไปแล้ว 

                ช่วง เวลา วันรับตายาย จะตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ในวันนี้ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด มักเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อประกอบกิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะเป็นการกระทำ เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูแล้ว ยังเป็นการพบปะสังสรรค์ระหว่างญาติพี่น้องอีกด้วย ชาวบ้านทุกครอบครัวจะจัดอาหารคาวหวาน ดอกไม้ธูปเทียน ไปทำบุญที่วัด 

               วัน ส่งตายาย จะตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ซึ่งการทำบุญวันส่งตายายจึงมีความสำคัญพอกัน แต่ในวันส่งตายายจะจัดเตรียมอาหารคาวหวาน ต่าง ๆ เป็นพิเศษ พร้อมของใช้ในครัวเรือน เชื่อว่า จัดเตรียมให้ตายายนำกลับไปใช้พิธีกรรม

            มี การทำบุญตักบาตรตั้งแต่ตอนเช้า นำอาหารถวายพระ ใส่บาตร แล้ว ยังนำไปวางบนร้าน เรียกว่า ร้านเปรตซึ่งสร้างยกพื้นขึ้นมากลางลานวัด เพื่อให้ชาวบ้าน และเด็ก ๆ เข้าแย่งอาหารหรือชิงเปรตกัน

              ขนมตายายที่มักทำกันในเดือน ๑๐ ได้แก่ ขนมลา ขนมกรุบ ขนมจู้จุน ขนมบ้า ขนมไข่ปลา ยาหนม ขนมพอง ต้ม และผลไม้ต่าง ๆ แล้วแต่ละท้องที่ 

หลังจากทำบุญตอนเช้าเสร็จแล้วก็จะมีการบังสกุลบรรพบุรุษ บางท้องที่จะทำตอนเย็นเป็นอันเสร็จพิธี

    * ความสำคัญ 

                วัน รับส่ง - ตายาย เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในครอบครัว ทั้งที่อยู่ใกล้และอยู่ไกล นอกจากนี้เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว


ประเพณีสมโภชสรงน้ำแม่เจ้าอยู่หัว 

งาน ตายายย่านเป็นประเพณีเฉพาะท้องถิ่นของชาวบ้านท่าคุระ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ที่จัดเป็นประจำปีในวันพุธแรกของข้างแรมเดือนหก 

พิธีกรรมหรือกิจกรรม

ใน วันพุธแรกของข้างแรมเดือนหก ชาวบ้านท่าคุระ ไม่ว่าจะไปประกอบอาชีพหรือย้ายถิ่นฐานไปอยู่ ณ ที่ใดจะพยายามกลับมาร่วมพิธีนี้ พิธีงานตายายย่าน เริ่มด้วยการอัญเชิญพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัว ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองออกจากผอบที่ประดิษฐานอยู่ในห้องภายในมณฑป ในวัดท่าคุระ โดยการจัดเตรียมเครื่องถวาย ได้แก่ เชี่ยน(ตะกร้า) หมากพลู เสื่อ หมอน และให้ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายแต่งตัวนุ่งขาวห่มขาว คล้ายพราหมณ์พร้อมด้วยพระสงฆ์ ๓ รูป ทำพิธีอัญเชิญเจ้าแม่อยู่หัว โดยแก้ผ้าที่ห่ออยู่ ๙ ชั้น เป็นผ้า ๙ สี (ยก เว้นสีดำ) แต่ละชั้นผูกมัดด้วยสายสิญจ์ พระสวดบังสุกุล โนรา ตีเครื่องรับ ครูหมอเป็นผู้ทำพิธี เมื่ออัญเชิญออกมาแล้ว ก็จะประดิษฐานไว้ที่สำหรับสรงน้ำ ภายในมณฑป ประเพณีงานตายายย่าน จะมีการสมโภชโดยการรำโนราโรงครู (โนราโรงครู หมายถึง การรำโนราอย่างพิธีกรรมตามแบบฉบับดั้งเดิม

อย่าง ครบกระบวนการ คือ ต้องเลือกสถานที่ปลูกสร้างโรงรำให้ถูกทิศ มีศาล และเครื่องเซ่นบวงสรวงครบถ้วน) เริ่มด้วยการตั้งเครื่องโหมโรง ประกาศเชิญราชครู รำเบิกโรง รำแม่บท ออกพราน รำคล้องหงส์ รำแทงเข้และแสดงเรื่องชาวบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นลูกหลานของเจ้าแม่อยู่หัว ต่างก็ผลัดเปลี่ยนกันรำแก้บนในโรงด้วย ที่บนว่าจะรำเป็นพรานก็เอาหัวพรานมาสวมแล้วรำพอเป็นพิธีคนละท่าสองท่า โนราโรงครูจะรำต่อเนื่องกัน ๓ วัน ๓ คืน เริ่มวันพุธ ไปสิ้นสุดในวันศุกร์


ประเพณีแต่งงานกับต้นไม้

ประวัติ / ความเป็นมา

          ประเพณีแต่งงานกับต้นไม้ของหมู่บ้านสทิงหม้อ ไม่ปรากฏว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่มีมานานตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายแล้ว และยังคงนับถือและปฏิบัติกันต่อมา เดิมต้นไม้ที่ แม่เจ้าหรือ เจ้าแม่สิงสถิตนั้นเป็นต้นมะม่วงขนาดใหญ่ในเขตวัดมะม่วงหมู่ ชาวบ้านเรียกเจ้าแม่องค์นี้ว่าเจ้าแม่ม่วงทองต่อ มาเมื่อต้นมะม่วงตายลงก็ได้อัญเชิญเจ้าแม่ให้ไปสถิตอยู่ที่ต้นประดู่ แต่เจ้าแม่ม่วงทองได้มาเข้าฝันบอกชาวบ้านว่าไม่ชอบต้นประดู่ เพราะเหม็นกลิ่นกะปิที่ชาวบ้านเชื้อสายมลายูทำกันเป็นอาชีพ จึงได้อัญเชิญให้เจ้าแม่มาอยู่ที่ต้นอินทนิลใหญ่หน้าวัดมะม่วงหมู่ และได้สร้างห้องเล็กๆ ก่ออิฐถือปูนให้เป็นที่ประทับของเจ้าแม่ และได้ปั้นรูปเจ้าแม่ขึ้นขนาดเท่าคนจริง ไว้ในห้องนั้น เพ่อสำหรับพิธีแต่งงานและสักการะบูชา

 การ แต่งงานกับต้นไม้ทำในสองลักษณะ คือ ครอบครัวใดที่เคยนับถือเจ้าแม่ม่วงทองมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ต้องให้บุตรชายแต่งงานกับต้นไม้หรือเจ้าแม่ม่วงทองก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุ เอแต่งงานแล้วจะถือว่าภรรยามนุษย์นั้นเป็นเมียน้อย ลักษณะที่สองคือ ทำเป็นการแก้บน

 สำหรับ ตระกูลที่นับถือเจ้าแม่ม่วงทองตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ จะละเลยไม่ปฏิบัติตามประเพณีไม่ได้เป็นอันขาด แม้ว่าจะไปตั้งหลักแหล่งในจังหวัดอื่นแล้วก็ต้องกลับมาเข้าพิธีก่อนบวชเสมอ ส่วนต้นอินทนิลใหญ่นั้นถ้ามีใครไปตัดหรือรานกิ่งก็จะเกิดอาการบวมขึ้นมาทั้ง ตัวโดยกระทันหันและตายในที่สุด

กำหนดงาน

           ประเพณีแต่งงานกับต้นไม้ของหมู่บ้านสทิงหม้อ จัดขึ้นเฉพาะช่วงเข้าถึงเที่ยงของวันอังคารและวันเสาร์ เดือนใดก็ได้ แต่นิยมจัดในระหว่างเดือน 6-8 สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม

           ก่อนจะถึงวันพิธีเจ้าภาพต้องติดต่อนัดหมายกับผู้ทำพิธีเสียก่อนว่า จะจัดเพื่อบวชหรือแก้บน และนัดวันเวลากันให้เป็นที่แน่นอน เมื่อถึงวันงานชายหนุ่มซึ่งเป็นบุตรของครอบครัวที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนต้องกลับบ้านมาทำพิธีแต่งงานกับต้นไม้ เมื่อเสร็จพิธีก็บวช หรือสึกออกมาแต่งงานได้ 

พิธีแต่งงานกับต้นไม้นี้ จัดใหญ่โตเหมือนแต่งงานกับเจ้าสาวที่เป็นคนธรรมดา มีเครื่องขันหมากทั้งขันเดี่ยวและขันคู่

           ขันหมากเดี่ยว หมายถึง ขันหมากหัว หรือขันหมากราย มีสิ่งของประดับเพียงหนึ่งอันหรือหนึ่งสำรับเท่านั้น

           สำหรับขันหมากคู่ มีทุกอย่างเป็นคู่ไปหมด ในขันหมากนั้นแม้ว่าจะเป็นขันหมากเดี่ยวก็ประกอบด้วยขันหมากขันพลู ขันละ 25 ซอง ส่วนขันหมากรายมีขนมลา ขนมเจาะหู (ขนมดีซำที่ใช้ในงานสารท) ข้าทอง ข้าวเหนียว กาละแม ขนมเปี๊ยะ ไก่ หัวหมู มะพร้าวอ่อน 3 ผล ส้ม 5-7 ผล ส้มโอ 3 ผล อ้อย 5 ท่อน เทียนไขเล่มใหญ่ 1 กล่อง เทียนขี้ผึ้ง 50 เล่ม นอกจากนั้นมีเบาะ เสื่อ และหมอน อย่างละ 1 พร้อมด้วยพานผ้ามีกริชวางอยู่ตรงกลาง

           บรรดาเครื่องขันหมากทั้งหลาย จะให้สาวพรหมจารี จำนวน 30 คน เดินทุนขันหมากบนศีรษะเข้าขบวนแต่งงานแบบสาวชาวบ้านทางปักษ์ใต้ โดยเคลื่อนขบวนแห่จากบ้านเจ้าบ่าวสุ่บริเวณพิธีนำขบวนด้วยกลุ่มเถิดเทิงกลอง ยาว เป็นที่สนุกสนาน 

          ในวันงานเจ้าบ่าวจะแต่งกายในชุดผ้าม่วงสีสดสวย สวมเสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว เหน็บกริชที่เอว ผู้มาร่วมงานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งช่วยกันประกอบอาหาร เพื่อเลี้ยงแขกเหรื่ออีกกลุ่มหนึ่งจัดเตรียมสถานที่ให้สะอาดเป็นระเบียบ เรียบร้อย ปูเสื่อวางเครื่องขันหมาก เครื่อง ขันหมากนี้นำไปวางใกล้โคนต้นไม้เจ้าแม่ ถัดมาตรงหน้าเจ้าบ่าวจะเป็นหมอน ขวามือวางเบาะ วางที่นอน ด้านซ้ายวางเครื่องขันหมากราย ซึ่งประกอบด้วย ไก่ หัวหมู กล้วย อ้อย เป็นต้น  เมื่อ ได้ฤกษ์ยาม เจ้าบ่าวจุดเทียนไขปักตรงหน้าโคนต้นไม้ใหญ่ จุดเทียนขี้ผึ้งปักลงบนพานขันหมากจนครบทุกขัน จากนั้นผู้เฒ่าจะกล่าวบทประกาศชุมนุมเทวดา ผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าวนำดอกไม้ หมาก พลู วางบนหมอน โดยแบ่งเป็น 3 กอง พร้อมเงินกองละ 1 บาท ให้แม่เฒ่าที่สมมุติว่าเป็นผุ้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวต้นไม้ผู้หนึ่งออกมาเตรียมรับไหว้ เมื่อเจ้าบ่าวก้มลงกราบ 3 ครั้ง ในแต่ละครั้งผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวจะแนะให้เจ้าบ่าวกอบหมาก พลู ดอกไม้ กับเหรียญบาท ที่วางบนหมอนส่งให้ญาติของตน จากนั้นผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวจะนำเทียนขี้ผึ้งที่เหลือมารวมกันเป็นมัด แล้วจุดโบกควันส่งเวียนขวาต่อไประหว่างญาติผู้ใหญ่จนครบ 3 รอบ

เมื่อ ดับเทียนที่โบกแล้ว พิธีกรฝ่ายเจ้าสาวต้นไม้จะจัดเครื่องไหว้ อันได้แก่ หัวหมู ไก่ รวมทั้งสิ่งละอันพันละน้อย ใส่ลงในใบตองยกมาพลีที่โคนต้นไม้ใหญ่ ด้านตรงข้ามกับที่เจ้าบ่าวนั่งอยู่ จากนั้นเจ้าบ่าวก้มลง


ประเพณีทำบุญทวดช้าง

ประเพณีทำบุญพ่อทวดช้าง เป็นประเพณีที่กระทำกันทุกปี โดยพ่อทวดช้าง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 2 ตำบล เขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีการสร้างศาลาเพื่อประดิษฐานจำลองพ่อทวดช้าง และควาญช้างไว้เพื่อเป็นที่เคารพสักการะบูชา พ่อทวดช้างมีอภิหารหลายอย่างปรากฏให้คนในหมู่บ้านเขารูปช้างพบเห็น คนในหมู่บ้านจึงมีความเชื่อและความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อทวดช้าง เป็นอย่างยิ่ง และมีการทำบุญประจำปีกันทุกปี โดยจะทำหลังจากทำบุญเดือน 5 (สงกรานต์) ที่วัดเกาะถ้ำเสร็จแล้ว ภายใน 1-7 วัน ชาวบ้านในพื้นที่หน้าทวดช้าง จะนัดแนะเพื่อร่วมทำบุญทวดช้าง และบุญเจดีย์ที่ตั้งอยู่หน้าทวดช้าง มักนิยมทำกันที่ใต้ต้นใหญ่ หรือเชิงเขาหน้าทวด เดิมจะทำกันที่บริเวณหน้าส่วนเจ้ากล้อง (หน้าสระน้ำมหาวิทยาลัยทักษิณ) แต่ภายหลังที่ดินถูกเวนคืน เพื่อสร้างเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ ในปี 2511 จึงกลับมาทำที่บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่บริเวณบ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 2 ซอยมิตรสัมพันธ์ (ปากทางเขารูปช้างเดิม)

                  พิธีการ ดั้งเดิม ผู้ที่อาศัยอยู่ในระแวกนั้น หรือผู้ที่ให้ความเคารพนับถือทวดช้างออกเรี่ยไรข้าวสารเงินทองมาทำขนมจีน เพื่อทำพิธีเลี้ยงพระในตอนเช้าและฉันเพล โดยนิมนต์พระสงฆ์ 7-9 รูป มาทำพิธี แต่ปัจจุบันนิยมนำข้าวหม้อแกงหม้อ มาร่วมทำบุญเลี้ยงพระในตอนพระฉันเพล ส่วนเจ้าภาพซึ่งรับเป็นเจ้าภาพในการทำบุญพ่อทวดช้างและบุญเจดีย์จะทำขนมจีน เนื่องจากขนมจีนจำเป็นต้องมีเพราะคนเฒ่าคนแก่ สั่งสอนไว้ว่า การเลี้ยงขนมจีนจะทำให้มีเส้นมีสายโยงใยกันแยกกันไม่ขาดเหมือนญาติมิตร หลังจากเสร็จพิธีทางสงฆ์ ก็จะร่วมรับประทานอาหารและทำพิธีรดน้ำคนเฒ่าคนแก่ แจกเสื้อผ้า คนเฒ่าคนแก่จะให้พรลูกหลานที่ไปร่วมงาน ไม่ว่าลูกหลานจะอยู่จังหวัดใด ส่วนใหญ่เมื่อถึงกำหนดทำบุญทวดช้าง บุญเจดีย์ ต่างก็จะกลับมาทำบุญดังกล่าว เพราะถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้าน สิ่งศักดิ์สิทธิ์เมือง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของคนทั้งตำบล และของผู้คนทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่แทบทุกปีจะมีหนังตะลุงเล่นในคืนก่อนวันทำบุญ ซึ่งบางครั้ง ก็จะจัดรับเทียมดาเสร็จแล้วมีหนังตะลุงแสดง รุ่งเช้าทำบุญทวดช้าง บุญเจดีย์ ซึ่งได้สืบทอดกันมา

               การ ที่ยึดเอาการทำบุญวัดเกาะถ้ำเป็นเกณฑ์ ก็เนื่องจากบรรพบุรุษส่วนใหญ่จะอยู่ที่นั้น หลังจากบังสุกุลกระดูกบรรพบุรุษแล้ว จึงมาทำบุญประเพณีตลอดมา
          ปัจจุบัน ประเพณีทำบุญพ่อทวดช้างจะจัดขึ้นทุกปี ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยจะจัดขึ้นพร้อม ๆ กับ งานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประมาณเดือนสิงหาคม 

 
999arch คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์