Untitled Document

งานเผยแพร่นานาชาติ :

      สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลายังเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูสงขลา และ โรงเรียนสตรีฝึกหัดสงขลา จึงอาจถือได้ว่า พ.ศ. 2498 เป็นยุคเริ่มต้นก่อให้เกิดสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาในปัจจุบัน

      ผู้ที่สมควรได้รับเกียรติยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกงานด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มคือ รศ.ภิญโญ จิตต์ธรรม ดร.วิจิตร จันทรากุล และ ศ.สุธิวงศ์พงศ์ไพบูลย์ ทั้ง 3 ท่านเป็นผู้ที่มองเห็นความสำคัญของงานวัฒนธรรม โดยเฉพาะงานวัฒนธรรมท้องถิ่น จนกระทั่งได้เกิดเป็นผลงานเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันสำคัญยิ่งในกาลต่อมา ได้แก่ คณะโนราวิทยาลัยครูสงขลา ผลงานทางด้านการเผยแพร่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง ผู้รับสืบทอดงานด้านนี้ต่อคือ ผศ.สาโรช นาคะวิโรจน์ และคณะอาจารย์โปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง ของมหาวิทยาลัยได้รับเชิญไปแสดงทั้งในประเทศและต่างประเทศในชุดการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นโนราและนาฏศิลป์ไทย 4 ภาค ทั้งที่ได้รับเชิญผ่านหน่วยงานกระทรวงวัฒนธรรมหรือได้รับเชิญโดยตรงไปเผยแพร่ในงานเทศกาลมหกรรมวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติมาแล้วหลายประเทศ เช่น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เยอรมันนี ญี่ปุ่น อเมริกา รัสเซีย กรีซ ตุรกี อินโดนีเซีย ฯลฯ

      ปี 2548 ได้รับเชิญเข้าร่วมในงาน The International Festivals of Folk Arts  เมื่อวันที่ 1 - 12 กันยายน 2548  ณ ประเทศรัสเซีย โดยจัดแสดงที่เมือง Moscow และเมือง Novocherkassk ปี 2549  เข้าร่วมแสดงงานเทศกาล The 26th Sun and Stone International Folklore Festival Karvalis และ The 18th International Folklore Festival of Pyrsos - Naoussa เมื่อวันที่ 5 - 21 กรกฎาคม 2549 ณ ประเทศกรีซ

      ปี 2550 ได้รับเชิญเข้าร่วมงาน 8th Annual Kadikoy Internation Folkdance Festival เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม 2550 ณ ประเทศตุรกี ปี 2551 ได้รับเชิญเข้าร่วมการแสดงในงาน Bali Art Festival 2008 เมื่อวันที่ 21 - 29 มิถุนายน 2551 ณ ประเทศอินโดนีเซีย โดยผ่านการประสานงานจากกงสุลอินโดนีเซียประจำจังหวัดสงขลา

      ปี 2552  ได้รับเชิญเข้าร่วมแสดงในงาน FESTARE 2009  เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม 2552  ณ ประเทศโปรตุเกส

ภาพการแสดงผลงานที่ได้รับเชิญไปแสดงต่างประเทศ

      ปี 2548 แสดงงาน The International Festivals of Folk Arts เมื่อวันที่ 1 - 12 กันยายน 2548  ณ ประเทศรัสเซีย โดยจัดแสดงที่เมือง Moscow และเมือง Novocherkassk

 

 

      ปี 2549  เข้าร่วมแสดงงานเทศกาล The 26th Sun and Stone International Folklore Festival Karvalis และ The 18th International Folklore Festival of Pyrsos - Naoussa  เมื่อวันที่ 5 - 21 กรกฎาคม 2549 ณ ประเทศกรีซ

 

 

 

      ปี 2550  ได้รับเชิญเข้าร่วมงาน 8th Annual Kadikoy Internation Folkdance Festival เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม 2550  ณ ประเทศตุรกี

 

 

      ปี 2551  ได้รับเชิญเข้าร่วมการแสดงในงาน Bali Art Festival 2008 เมื่อวันที่ 21 - 29 มิถุนายน 2551  ณ ประเทศอินโดนีเซีย

      ปี 2552  ได้รับเชิญเข้าร่วมแสดงในงาน FESTARE 2009  เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม2552  ณ ประเทศโปรตุเกส

 

      ในปี 2552  ได้รับเชิญเข้าร่วมแสดงในงานเทศกาลไทย ครั้งที่ 11  ณ สวนสาธารณโยโยงิ เขตชิบุยา กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 12 - 17 พฤษภาคม 2552


      ในปี 2553 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้รับเชิญจากสถานกงศุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย จัดการแสดงเข้าร่วมเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ในงานวันชาติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันศุกร์ที่3 ธันวาคม 2553 ณ โรงแรม G Hotel รัฐปีนัง

      ในปี 2554 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จัดโครงการเผยแพร่งานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ระดับนานาชาติ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และเครือข่ายทางวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ศิลปการแสดงนาฏศิลป์และวัฒนธรรมพื้นบ้าน ในระหว่างวันที่ 9 - 30 มิถุนายน 2554 ณ เมืองอมาสยาและเมืองอังการา ประเทศตุรกี

      ในปี 2555 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จัดโครงการเผยแพร่งานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ระดับนานาชาติ ในระหว่างวันที่ 23 - 29 พฤษภาคม 2555 ณ สถาบันศิลปะ (ISI) เมืองปาดัง เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย