Untitled Document

ข้อคิดธรรมจากโครงการทำดีเพื่อพ่อและแม่ :

ข้อคิดธรรมจากโครงการทำดีเพื่อพ่อและแม่ 2553
ข้อคิดธรรมจากโครงการทำดีเพื่อพ่อและแม่ 2554
ข้อคิดธรรมจากโครงการทำดีเพื่อพ่อและแม่ 2555

"ทำบุญตักบาตรทุกวันพฤหัสบดี" เป็นโครงการที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อส่งเสริมการนำคุณธรรมจริยธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวัน
โดยมีการทำบุญตักบาตรในทุกวันพฤหัสบดี ในเวลา 06.30 น. ณ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ในปี 2554 นี้ เริ่มโครงการในวันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2554

โดยพระมหาไพบูลย์ กตปุญโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดแจ้ง อ.เมือง จ.สงขลา

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่28 กรกฎาคม 2554
พระอาจารย์ได้ให้ข้อคิดธรรม 3 ข้อ
ข้อที่ 1 เรามาดีเพราะมีบุญ
ข้อที่ 2 เราอยู่ดีเพราะมีคุณ
ข้อที่ 3 เราไปดีเพราะมีทุน
อธิบายความโดยละเอียดดังนี้
1. เรามาดีเพราะมีบุญ บุญคือวาสนาเก่าที่ส่งเสริมให้เราได้มีโอกาสเกิดเป็น "มนุษย์" อยู่ภูมิสุขติภูมิมนุษย์ อยู่ในภูมิที่ 4 อยู่ระหว่างกลาง หรือเรียกว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลาง ไปข้างบนก็ได้ไปข้างล่างก็ได้ เราจึงมีบุญที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ บุญสนับสนุนให้เราได้เกิดในภพภูมิเดียวกันกับพระพุทธเจ้า ที่ทรงเกิดเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเรา

2. เราอยู่ดีเพราะมีคุณ คุณนี้แบ่งออกได้ 2 อย่าง คือคุณความดีและคุณประโยชน์ในสังคมมนุษย์ที่เราอยู่ได้เพราะมีคุณความดี คือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำดีแก่กันและกัน จึงทำให้เราอยู่ด้วยกันได้ เพราะเราดีต่อกัน ส่วนคุณประโยชน์นั้น เพราะเราอยู่ด้วยกันอย่างพึ่งพา ร่วมกันนำคุณประโยชน์ทุกด้านมาสู่กัน ถ้าสังคมใดมี "คุณ" มากก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่โกรธาทะเลาะกัน หันหน้าเข้าหากัน ร่วมทำความดีและทำคุณประโยชน์สู่กัน

3. เราไปดีเพราะมีทุน ทุนที่มีอยู่ทุกคนที่ทำวความดีมีคุณประโยชน์ ก็จะเป็นทุน สนับสนุนส่งเสริมเกื้อกูล สมทบให้เราตายไปอยู่เป็นสุข เป็นทุนหนุนนำเติมเต็มด้วยการทำด้วยตัวเราเองตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ดีกว่าจะเป็นทุนส่งเสริมให้ตอนลูกหลานส่งผลบุญไปให้ ทุนมี 2 ชนิด คือ ทุนภายในและทุนภายนอก
- ทุนภายนอกเกี่ยวกับทุนที่นำมาใช้เป็นรูปธรรมกับชีวิตประจำวัน เช่น ข้าวของเงินทองให้เราได้สุขในสิ่ง
ที่เราอยากได้
- ทุนภายในเป็นเรื่องของบุญที่สั่งสม จะส่งผลให้เราไปสู่สุขติได้ ไม่ต้องดิ้นรนขวนขวายให้ลูกหลานส่งผลบุญไปให้เพราะเราสั่งสมไว้เองแล้ว ฉะนั้นมนุษย์ทุกคนจึงพึงหมั่นเพียรที่ บุญ ทำคุณ และทำทุนของตัวเองไว้ให้ครบถ้วนอย่าประมาทเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับผลแห่งการกระทำของตนในขณะที่มีชีวิตอยู่และตายไปด้วย

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่25 สิงหาคม 2554
เจริญพรญาติโยมพุทธบริษัท วันนี้ทุกคนตั้งใจมาทำบุญ ก็คือมาสั่งสมบุญให้ได้เต็มเปี่ยมมากขึ้นมนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องตาย สมบัติติดตัวอื่นใดก็เอาไปด้วยไม่ได้ ยกเว้นบุญจะติดตัวไปทุกที่ทุกทางการทำดีเปรียบเสมือนการสั่งสมสมบัติไว้ติดตัว คือ
สมบัติ 4
สมบัติ แปลว่า ข้อดี หมายถึง องค์ประกอบต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมกรรมดีให้ปรากฏชัดยิ่งขึ้น มี 4 ประการคือ
1. คติสมบัติ คือ สถานที่หรือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเกื้อกูล ถ้าตายไปก็จะได้เกิดที่ดีๆ พบสิ่งที่ดีมีความสุขสมบูรณ์
2. อุปธิสมบัติ คือการมีบุคลิกดี เช่นมีรูปสวย ร่างกายสง่างาม  มีเสน่ห์ ถ้าสั่งสมคุณความดีมากก็จะเป็นที่เลื่อมใสของผู้พบเห็น
3. กาลสมบัติ คือการทำอะไรที่ถูกที่ถูกเวลา เกิดมาเมื่อมีโอกาสดี เหมาะสมทั้งเรื่องการงานและหน้าที่มักจะได้รับโอกาสดีๆ เสมอ
4. ปโยคสมบัติ คือความสมบูรณ์เรื่องที่จะทำ เช่น ทำเรื่องตรงกับที่ต้องการ ทันยุดทันสมัย แม้นการได้งานทำก็จะสมบูรณ์ มีสวัสดิการดีทุกอย่าง

เมื่อมีสมบัติ 4 แล้วก็จะต้องมีสิ่งที่เป็นของคู่กัน คือ วิบัติ 4
วิบัติ แปลว่า ข้อเสีย หมายถึง ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งไม่อำนวยให้ปรากฏกรรมดี
1. คติวับัติ คือ สถานที่ หรือ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่เกื้อกูล การเกิดในตระกูลต่ำยากจนไม่สุขสบาย
2. อุปธิวิบัติ คือ บุคลิกภาพบกพร่องเช่น ร่างกายพิการ อ่อนแอ จึงไม่ควรประมาท อาจเกิดเห็นผลในระยะสั้นและระยะยาวได้ ขึ้นอยู่กับกรรมที่กระทำ
3. กาลวิบัติ คือการทำอะไรไม่ถูกเวลา ไม่ถูกจังหวะ โอกาสไม่ดี มีเหตุให้เกิดผลเสียหาย ให้เป็นทุกข์
4. ปโยควิบัติ คือ เรื่องที่ทำบกพร่อง เช่นทำเรื่องที่เขาไม่ต้องการประกอบกิจการที่สังคมรังเกียจ ทำการงานในที่ไม่ควรทำ ไม่มีสิทธิเลือก
มนุษย์ทุกคนเกิดมาจากการสั่งสมความดีไว้ ถ้าเราจะสั่งสมความดีต่อไปก็จะมีกรรมดีติดตัวเราตลอดไปพระพุทธองค์กล่าวไว้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมาแต่เหตุทั้งสิ้น

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่1 กันยายน 2554
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไกลจากกิเลส วันนี้จะให้ข้อคิดธรรม เรื่อง อนุปุพพิกถา 5 ที่พระพุทธองค์
ทรงแสดงในการเทศนาสั่งสอนพระยสเถระ บุตรเศรษฐีกรุงพาราณสี ซึ่งมีบ้านเรือนสามหลัง อยู่ใน 3 ฤดู
ออกบวชด้วยศรัทธาในพระธรรม  อนุปุพพิกถา 5 ข้อคือ
1. ทานกถา คือการให้ เป็นต้นเหตุแห่งความสุข การให้ทานมิได้หมายถึงข้าวของเงินทองเท่านั้น แต่การยกย่องเคารพบุคคลที่ควรเคารพหรือช่วยเหลือผู้อื่นด้วยแรงกาย หรือทางวาจา พูดในแง่บวก ไม่ให้ร้ายใคร หรือแม้แต่การให้กำลังใจบุคคลอื่นก็เป็นทานที่สั่งสม ไม่มากจะเป็นบารมีมาก บังเกิดผลในทางโชคลาภได้เช่นกัน
2. ศีลกถา คือศีล ได้แก่การรักษากาย วาจาให้เรียบร้อยในแต่ละวัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เปิดโอกาสให้สรรพสัตว์ทั้งหลายดำเนินไปด้วยดี
3. สัคคกถา คือสวรรค์ แปลว่าอารมณ์เลิศ หมายถึงสภาพชีวิตของบุคคลที่มีความสุขกายสบายใจ ไม่เดือดร้อนในการเป็นอยู่  เป็นความสุขที่เกิดอะไรขึ้นได้ดังใจ  นึกคิดปรารถนาสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้น การให้ทานรักษาศีลอยู่ในภาวะแห่งสวรรค์ อยู่ที่ไหนก็เป็นสุข นึกถึงใครก็ได้พบ อยากได้อะไรก็ได้ ทิพยสุขเหล่านี้ก็มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่ควรหลงนิยมยินดี เป็นบริโภคในรูป รส กลิ่น เสียง วัตถุ กาม ไม่มีสิ้นสุด ไม่มีเพียงพอ
4. ให้เห็นโทษของกาม เราทุกคนต้องมีเสื่อมไปตามวัย แม้นมีวัตถุใดๆ ที่ทำให้เรามีความสุข ก็ต้องมีความเสื่อม เกิดความทุกข์ในการต้องดูแลรักษา ไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืน
5. เนกขัมมานิสงส์ คืออานิสงส์แห่งการออกจากกาม  ถ้าเราออกจากกามได้ เราก็จะปลดเวร ปลอดภัย มีความเป็นอิสระ ไม่เกี่ยวเกาะผูกพันกับกามคุณทั้งหลาย ไม่ห่วงหาอาลัยกับวัตถุกาม นั้นต่อไป ปฏิบัติได้จนเกิดความรู้ความเข้าใจ แจ้งเห็นจริงตามหลักของอริยสัจทั้ง 4 ประการ พระยสะเถระจึงสามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันและเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุด

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่10 พฤศจิกายน 2554 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ในหัวข้อธรรม เรื่อง
การบูชาสิ่งที่ควรบูชาเป็นมงคลอันสูงสุด ที่จะยกระดับตัวของเราให้สูงขึ้น ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ก็จะมีความสุขความเจริญและเป็นมงคลอันสูงสุดที่จะช่วยยกระดับตัวของเราด้วย การบูชา คือ
การเลื่อมใส ยกย่อง เชิดชู ซึ่งเราสามารถปฏิบัติหรือแสดงได้ 2 ทาง คือ
- ทางที่ 1 แสดงต่อหน้า เป็นการแสดงด้วยกายกิริยาอาการ ให้ทราบว่าเรามีความเคารพและเห็นคุณค่าในคุรธรรมความดีในตัวเขา เช่น การแสดงความเคารพเมื่อพบเจอ เราก็จะได้รับการตอบรับทักทาย ถามสารทุกข์สุกดิบ เท่ากับเขาให้การยอมรับเรา เป็นการยกระดับเราให้อยู่ในสังคมของเขาด้วย แม้การนำสิ่งของต่าง ๆ ไปมอบให้เพื่อเป็นการขอบคุณ ระลึกถึงคุณท่านก็ทำได้ อาจจัดว่าเป็นการปฏิบัติที่เรียกว่า "อามิสบูชา" ก็ได้เช่นกัน
- ทางที่ 2 แสดงลับหลัง เป็นการเตือนใจตัวเราให้ผูกใจไว้กับคุณธรรม ความดี หรือคำสั่งสอนของท่าน เกิดความรู้สึกอยากปฏิบัติตาม อยากทำตามแบบอย่างที่ดี ใจของเราก็จะได้รับการยกระดับให้สูงขึ้นไม่ไปในทางชั่ว คุณธรรมความดีที่มีอยู่ในตัวของผู้ที่เราบูชา
ทำให้เกิดความเลื่อมใส กลายเป็นอยากทำความดีตามท่านบ้าง เป็นการบูชาอย่างแท้จริงการบูชานี้จัดเป็นการบูชาที่สูงสุด เพราะเป็นวิธีที่จะทำให้กาย วาจา ใจ ของเราสะอาด ที่เรียกว่า "ปฏิบัติบูชา"

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่17 พฤศจิกายน 2554
วันนี้อาตมาขอให้ข้อคิดทางธรรมที่ดีแก่ทุกท่าน คือ โอวาท 3
โอวาท 3 หมายถึง คำแนะนำ ตักเตือน คำกล่าวสอนโอวาทที่พระพุทธเจ้าไห้ไว้กับพระภิกษุที่พุทธบริษัทนำมาปฏิบัติได้ในสังคมนี้ ผู้ที่สูงด้วยคุณวุฒิ วัยวุฒิ ย่อมผ่านชีวิตมามากกว่านักศึกษา จึงมีคำแนะนำสั่งสอนที่เป็นประโยชน์กับเราได้เสมอเช่นกัน ถ้าเราสามารถปฏิบัติตามคำแนะนตักเตือนของท่านเหล่านั้น เราก็จะเป็นที่รักของผู้ใหญ่ และได้รับความเมตตาให้คำสอนอยู่เป็นเนือง ๆ นับเป็นเครื่องเตือนใจเราได้ตลอดเวลาได้เช่นกัน
โอวาทของพระพุทธองค์ สรุปได้ 3 ประการ คือ
1. ละเว้นหรือไม่ทำชั่ว เช่นไม่ลักขโมย ไม่ทะเลาะวิวาทกัน คนไม่ทำชั่วจิตใจก็แจ่มใส มีความสุขกายสุขใจ
2. ทำความดี เช่นมีความเมตตาต่อผู้อื่น พูดจาไพเราะอ่อนหวาน ผู้ที่ทำดีย่อมได้รับผลตอบแทนดี
3. ทำจิตใจให้ผ่องใส กำจัดสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองออกไป เช่น ความโลภ ความโกรธผู้ที่มีจิตใจผ่องใส ย่อมพบกับความสุข ความเจริญ

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่24 พฤศจิกายน 2554
ธรรม คือ ไตรลักษณ์ คือกฏธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งปวง หากเราเข้าใจแล้วเราจะมีทุกข์น้อยลง และโลกนี้จะลดปัญหาต่าง ๆ ได้มาก
ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง หมายถึงสามัญลักษณะหรือลักษณ์ที่เสมอกันหรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวง เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ได้แก่
1. อนิจจา หรือ อนิจจัง คือความไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน คือทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในเบื้องกลาง และดับไปในที่สุด ด้วยสภาพแวดล้อม ความแปรปรวน แม้นกระทั่งอารมณ์ภายในของเราก็เช่นกัน เราจะหวังความยั่งยืนไม่ได้ แต่
ถ้าเราเข้าใจธรรมชาตินี้ จะช่วยลดทุกข์ให้เราได้
2. ทุกขตา หรือ ทุกขัง คืออาการเป็นทุกข์ทั้งทางกายและทางอารมณ์ภายในเป็นอาการถูกบีบคั้น กดดัน และขัดแย้งอยู่ในตัว ความทุกข์จะสร้างความเดือดร้อนไม่ใช่เพียงแต่ตัวเรา จะคนรอบข้างที่ใกล้ชิดเราก็ได้รับความเดือดร้อนไปด้วย
3. อนัตตา เป็นอาการที่แสดงถึงความไม่มีตัวตน ไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง เมื่อทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ก็จะสลายไปในที่สุด ถ้าหากเราเรีนยรู้ เราเข้าใจ เราสามารถลดความทุกข์ไปได้มาก เป็นลักษณะธรรมดาของการดำเนินชีวิต เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป ถ้าเรามองเห็นเราจะเข้าใจกับสภาพที่อยู่กับตัวเรา กับใจเรา กาลเวลาที่ผ่านไปจะเป็นเครื่องช่วยคลี่คลายให้เราเอง ทุกสิ่งทุกอย่างต้องอาศัยกาลเวลาช่วยคลี่คลายให้ได้ ถ้าเราเข้าใจในธรรมข้อนี้
2. ทำความดี เช่นมีความเมตตาต่อผู้อื่น พูดจาไพเราะอ่อนหวาน ผู้ที่ทำดีย่อมได้รับผลตอบแทนดี
3. ทำจิตใจให้ผ่องใส กำจัดสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองออกไป เช่น ความโลภ ความโกรธผู้ที่มีจิตใจผ่องใส ย่อมพบกับความสุข ความเจริญ

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่8 ธันวาคม 2554
ธรรมในวันนี้คือ การมีโอกาสพบกับความสุขในการดำเนินชีวิตได้ ถ้าเราสั่งสมการทำบุญการทำสิ่งที่ถูกต้อง เราก็จะได้พบกับความสุขที่สมหวังได้ หากเราหวังความสำเร็จในสิ่งใด ก็ตามที่เราประสงค์ เราจะต้องประพฤติปฏิบัติให้สมบูรณ์ตามหลักธรรมชาติทั้งเบื้องต้นท่ามกลางและบั้นปลายให้ดีที่สุดโดยใช้หลัก อิทธิบาท 4 คือ
1. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
2. วิริยะ ความพากเพียร พยายามในสิ่งนั้น
3. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
4. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องตรึกตรองใคร่ครวญในเหตผลของสิ่งนั้น
ธรรม 4 อย่างนี้ ย่อมเกี่ยวเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ตนถือว่าดีที่สุดที่มนถษย์เราควรจะได้ ข้อนี้เป็นกำลังใจ อันแรกที่ทำให้เกิดคุณธรรมข้อต่อไปทุกข้อ
วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การกระทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาวจนประสบผลสำเร็จ คำนี้มีความหมายของความกล้าหาญเจืออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง
จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้นไปจากความรู้สึกของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้รวมความหมายของคำว่าสมาธิอยู่ด้วยอย่างเต็มที่
วิมังสา หมายถึง ความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมายของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่ สรุปว่า วันหนึ่งๆ เราก็จะมีการปฏิบัติวนเวียนอยู่ในข้อ 1-4 เช่นนี้ตลอดทุกเวลา
ทุกโอกาส

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่15 ธันวาคม 2554
โดยท่านพระครูสอน วัดแจ้ง อ.เมือง จ.สงขลา
ท่านอาจารย์มีความรู้สึกอิ่มใจที่ได้มาที่สำนักศิลปะและวัฒนธรรมอีกครั้ง หลังจากหายไปเพราะป่วยเป็นโรคร้ายที่ลำคอ ซึ่งท่านได้รับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ท่านอาจารย์ได้ให้ข้อคิดธรรมโดยใช้ตัวท่านเป็ฯสื่อ โดยกล่าวว่า ชีวิตคนเราทุกคน
ก็มีอยู่เท่านี้ แม้นจะเป็นพระสงฆ์ก็ถึงซึ่งความเจ็บป่วยได้เช่นกัน ไม่สามารถจัดอยู่ในข้อยกเว้นใดๆได้ในขณะที่ท่านป่วยท่านอาจารย์ได้ใช้ความอดทน หรือความเพียรพยายาม ความอดทนนี้นับว่าเป็นเพชรชิ้นเอก ให้กำลังใจตนเองต่อสถานการณ์นี้จึงรอดพ้นมาได้

ท่านอาจารย์ใช้วิธีการ
1. พิจารณาความตายวันละนิด จิตแจ่มใส
2. ละความโลภ โกรธ หลง และพิจารณาให้เข้าใจถ่องแท้ ต้องมีสมาธิโดยใช้จิตหยั่งรู้ว่าร่างกายเจ็บ รู้เท่าทันทั้งทุกข์เวทนาและสุขเวทนา
3. ฝึกการปล่อยวาง โดยอาศัยการฝึกพลังจิต ให้อารมณ์มั่นคง อย่าไปคิดวนเวียนอยู่ที่โรค จะเป็นทุกข์และเศร้าใจ ให้คิดสู่ต่อไป เพราะทุกอยากในโลกนี้ มีเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปในที่สุด ไม่มีอะไรแน่นอน ที่แน่นอนที่สุดคือ ความดี กับความชั่วที่จะคงอยู่ยั่งยืน

ท่านอาจารย์ยังให้ข้อคิดสำหรับครูบาอาจารย์ ให้รู้จัก
มองลึก  คือมองพฤติกรรมของศิษย์ โดยใช้ทั้งตานอก และตาใน อย่ามองเพียงผิวเผิน
มองให้ไกล  พฤติกรรม ทุกอย่างของศิษย์ในอนาคต ไม่ใช่คงอยู่อย่างนี้ เขาอาจเติบโตเกินกว่าที่เราคะเนไว้
มีจิตเมตตา  สุดท้ายนี้ คือ รู้จักให้อภัยในข้อผิดพลาดของศิษย์ได้ ความรัก เกลียดชังซึ่งได้ขจัดออกไปเสีย ดังคำภาษิตที่ว่า "ช้างเผิอกอยู่ในป่า เพชรนิลจินดาอยู่ในตม"

ท่านอาจารย์ยังให้สติกับนักศึกษาด้วยว่า
นักศึกษาทุกคน จะเป็นกำลังของชาติ ให้นึกเสมอว่า ชาติบ้านเมืองเป็นสมบัติของทุกคนที่จะต้องดูแลและรักษาสืบต่อไป สถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งงดงามที่เราจะต้องดูแลรักษาไว้ ส่วนตัวเราเองก็ต้องมีธรรมเป็นความดีคุ้มครองตนเอง ต้องรู้จักการ
ทำจิตใจให้หนักแน่นอดทน มีเมตตา มีขันติ รู้จักการปล่อยวาง มีสมาธิ ทำตัวเป็นคนกินง่าย อยู่ง่าย นอนง่าย สอนง่าย มีความอดทนสูง ก็จะเป็นที่รักของคนทั่วไปให้ดูตัวอย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนพวกเรา โดยผ่านทางคุณทองแดง ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนอย่างที่กล่าวมา คือไม่เรื่องมากท่านอาจารย์ยังมีการนำวัตถุมงคลเป็นพระไพรีพินาศ มาแจกให้ผู้ร่วมบุญในวันนี้
ทุกคนด้วย ด้วยหวังว่าจะให้เราทุกคนชนะความชั่วทุกอย่างได้และอยู่อย่างเป็นสุขมีธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวกันทุกคน



ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่22 ธันวาคม 2554
โดยท่านพระครูสอน วัดแจ้ง อ.เมือง จ.สงขลา

ข้อคิดธรรมวันนี้ เป็นเรื่องของหน้าที่ของชาวพุทธที่ควรปฏิบัติ คือการสวดมนต์ไหว้พระเป็นบุญกิรกยาวัตถุ ซึ่งต้องปฏิบัติ 3 ข้อด้วยกัน คือ สวดมนต์ ภาวนา และนั่งสมาธิจะเป็นบุญที่เลิศกว่าการรับศีล และการให้ทาน เมื่อเราบำเพ็ญบุญเหล่านี้แล้ว จะทำให้เราได้ลาภที่ดีกว่าอย่างอื่น ยกตัวอย่างเช่น เราคิดถึงใครในตอนเช้า ถ้าเรามีบุญมากในตอนสายวันนั้นเราก็จะได้พบเจอคนที่เราคิดถึง อย่างนี้เป็นต้น นี่ก็คือการได้โภคทรัพย์ผลแห่งความดีก็ย่อมสะท้อนกลับให้เราได้ดี ไม่ตกในที่ชั่วการเบียดเบียนกันเป็นสิ่งที่ไม่ดีในทางพระพุทธศาสนา ให้เราเชื่อเรื่องกรรม ถ้าเราสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น เราก็จะเป็นทุกข์ จะต้องชดใช้กรรมที่เราทำมาตั้งแต่เกิด แม้นเติบโตขึ้นมาอยู่ในโรงเรียน ครูบาอาจารย์ก็ไม่สามารถปกป้องให้เราพ้นกรรมได้ เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ท่านอาจารย์ได้มอบพระไพรีพินาศให้ทุกคน ก็ให้เอาไปไว้บนหิ้งพระเขียนชื่อคนที่ทำไม่ดีกับเรา วางไว้ใต้พระ แล้วให้เราทำบุญ กรวดน้ำ แผ่เมตตา อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เขา ถ้าเขาไม่ดีขึ้น เขาก็จะแพ้ภัยตนเองไปในที่สุด การช่วยเหลือคนอื่นในแต่ละวัน ก็ถือว่าเป็นการทำความดีแล้ว ถ้าเราสั่งสมความดีแล้ว ก็สามารถเผื่อแผ่ให้ผู้่อื่นได้ด้วยเขาก็จะได้รับความสะดวกสบายที่เราแผ่ไปให้เขา ฉะนั้นสรุปว่า
- ถ้าเราทำดีวันนี้ หรือทุกวัน เราสามารถเผื่อแผ่ให้ทุกคนได้
- แต่การกระทำคือกรรมของแต่ละคน จะติดตัวให้เราชดใช้ไปตลอดจนกว่าชีวิตจะหาไม่
เพราะฉะนั้น เมื่อทำความดีแล้ว ให้รู้จักเผื่อแผ่ความดีไปให้ทุกคน

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่12 มกราคม 2555
โดยท่านพระครูสอน วัดแจ้ง อ.เมือง จ.สงขลา

เจริญพรท่านอาจารย์ นักศึกษาทุกท่าน ขอแสดงความยินดีกับทุกคนที่ผ่านพ้น มีชีวิตรอดมาได้อีก 1 ปี เราเคยคิดไหมว่า 1 ปีที่ผ่านไป ชีวิตเรากำไรหรือขาดทุน โดยเฉพาะนักศึกษาควรมีคติเตือนใจตนเองอยู่เสมอ ให้ทุกคนนนึกถึงความตายวันละนิดจิตแจ่มใส ตัวท่านอาจารย์เองก็ป่วยเป็นโรคร้าย แต่ก็ใช้ธรรมข่มความเจ็บปวด แยกกายกับจิตออกจากกันจึงสามารถอยู่รอดมาจนถึง 73 ปีแล้ว ท่านอาจารย์กล่าวว่า ชีวิตเหลือน้อย ให้รีบหมั่นสร้างความดี เพราะระยะเวลาของชีวิตแต่ละคนกำหนดให้สั้นหรือยาวไม่ได้ดั่งใจ การปลูกฝังความดีต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอ ต้องละกิเลสของตนให้ได้มากที่สุด เป็นนักศึกษามีคนช่วยเตือนช่วยบอก แนะนำตักเตือน เหมือนมีคนชี้ขุมทรัพย์ให้ เมื่อมาเรียนที่นี่ต้องเรียนให้ได้ความรู้ ได้ผลไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตต่อไป ถ้าเรามัวหลงอยู่กับการบริโภคปัจจัย 4 ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ ระลึกถึงความยากลำบากของพ่อแม่ที่ส่งเสีย ครูอาจารย์ที่ช่วยเหลือ เกื้อกูลเรา เราต้องตรวจสอบอยู่ตลอดเวลาว่าสุขคืออะไร ทุกข์คืออะไร เรื่องอะไรที่เป็นทุกข์ เราก็ต้องใช้อุเบกขา คือ การวางเฉย อย่าปล่อยอารมณ์ให้ถึงกับกินไม่ได้ นอนไม่หลับ เครียด จะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคทางกาย แพทย์ได้มีผลพิสูจน์ชัดเจนว่า ถ้าคนมีความสุขยิ้มแย้มแจ่มใส จะหลั่งสารแห่งความสุขออกมาได้ ให้นักศึกษาจงตระหนักการมองโลกในแง่ดี มีจิตเมตตา ก็จะเป็นคนมีบารมีเป็นเพชรน้ำเอกที่เผยแผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้ด้วยสำคัญ "ใจจะเป็นนาย กายจะเป็นบ่าว"ถ้าทำใจให้เข้มแข็งไม่หวั่ไหวง่าย ก็จะเป็นกำลังใจที่ทำให้จิตบริสุทธิ์ เพราะการทำทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ จึงต้องควบคุมให้เรียบร้อยงดงามตลอดไป

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่19 มกราคม 2555
โดยท่านพระครูสอน วัดแจ้ง อ.เมือง จ.สงขลา

ข้อคิดธรรมในวันนี้ขอยกคำที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า "นิฐิตัง สาธารณูปานัง กตัญญู กตเวทิตา"การเป็นผู้กตัญญูรู้คุณ เป็นเครื่องหมายของคนดี ซึ่งเครื่องหมายของคนดี นอกจากกตัญญูรู้คุณแล้วยังประกอบด้วย การเป็นกัลยาณมิตรที่ดี หรือมีกัลยาณมิตรที่มั่นคง ต้องเลือกเฟ้นคนดี ต้องรู้จักเลือกเพื่อนร่วมงานที่ดี ชี้แนะเมื่อเราประมาท และการเป็นผู้มีน้ำใจ เสียสละ ต้องรู้จักช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก มีจิตบริสุทธิ์ ไม่หวังผลตอบแทน การรู้จักกตัญญูนั้น ไม่ใช่เพียงบิดามารดา ครูอาจารย์เท่านั้น แต่ควรนึกถึงชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ด้วย แม้แต่ธรรมชาติหากเรารู้คุณของเขาเราก็จะอยู่อย่างเป็นสุข เคยมีคำกล่าวไว้ว่า "บุญคุณต้องทดแทน แค้นต้องชำระ"คำว่าชำระในทางธรรม หมายถึง ชำระกาย วาจา ใจของเราที่บกพร่อง จะได้ไม่ปฏิบัติต่อไปในสิ่งที่ไม่ดีวันต่อไปเราก็จะมี "รักยาวให้ตัด" นั่นก็คือตัดสิ่งที่เราบกพร่อง ให้มันสั้นลงไปเรื่อยๆคือให้น้อยลงไปเรื่อยๆ "รักสั้นให้ต่อ" คือให้เรารู้จักมองให้ลึก นึกให้ไกล ใจให้กว้าง ยกเอาอคติทั้งหลายออกไปจากใจเราให้ได้ เราจึงจะมีความสุข

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่26 มกราคม 2555
โดยท่านพระครูสอน วัดแจ้ง อ.เมือง จ.สงขลา

ข้อคิดธรรมในวันนี้คงเป็นเรื่่องสืบเนื่องจากอาทิตย์ก่อน เนื่องจากวันนี้นักศึกษาจะมีพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ มีเวลาเร่งรัด ท่านอาจารย์จึงขอย้ำในคติธรรมของคนดีที่ต้องยึดมั่นในกตัญญูกตเวทิตา การรู้บุญคุณคนที่ให้อุปการะเรา ต้องระลึกให้ได้ว่า ท่านเหล่านี้ให้อะไรเรา ทำอะไรให้เราบ้าง แล้วทำไมผู้มีพระคุณบางคนให้ได้ทุกวัน ไม่มีวันหมด โดยเฉพาะบิดามารดาซึ่งถือว่าเป็นครูต้นของพวกเรา เมื่อเรารู้บุญคุณแล้ว เราต้องมีสำนึกที่จะตอบแทนตลอดเวลา โดยเฉพาะพระอรหันต์ประจำตัวเรา คือพ่อและแม่ การแสดงออกถึงความกตัญญูต่อท่านตั้งแต่ท่านมีชีวิตอยู่ อย่าทำให้ท่านทุกข์ใจ ช่วยเหลือดูแลตามกำลัง แม้ยามท่านสิ้นใจก็ปฏิบัติกิจให้ท่านสมบูรณ์ ดำรงตนเป็นคนดี ก็เท่ากับตอบแทนท่าน เช่นเดียวกับครูบาอาจารย์ ถ้าวันนี้เราเป็นศิษย์ที่ดีอยู่ในโอวาทปฏิบัติดีก็ถือว่าได้ แม้นยามเจ็บ ยามจน ยามจาก เราปฏิบัติกับท่าน ท่านอาจารย์ขอชื่นชมนักศึกษาที่จะจัดพิธีไหว้ครูในวันนี้ และตั้งใจมาทำบุญเพื่ออุทิศให้ครูอาจารย์ ขอให้เจริญก้าวหน้า รักษาตนให้พ้น
จากทุกข์ภัยทั้งหลาย

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่2 กุมภาพันธ์ 2555
โดยท่านพระครูสอน วัดแจ้ง อ.เมือง จ.สงขลา

วันนี้ท่านอาจารย์ได้ตั้งหัวข้อธรรมที่หยิบยกมาจากมงคลที่ 6 คือ "อัตตะสัมมาปะณิธิ เอตัมมัง คะละมุตตะมัง" คือ ตั้งตนไว้ในที่ชอบประกอบในสัมมาปฏิบัติ สำหรับนักศึกษาขอให้คำนึงถึงการตั้งเป้าหมายในการดำเนินชีวิตด้วยความมั่นคงและมั่นใจ พยายามดำเนินชีวิตไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยศึกษาตรวจสอบอุปสรรคต่าง ๆ
แล้วแก้ไขมันให้สำเร็จ ตามแบบอย่างมากมายที่เราเห็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นครูอาจารย์ที่ท่านประสพความสำเร็จในชีวิต ให้เห็นเป็นแบบอย่าง ถ้าเราตั้งเป้าหมายไว้ว่า เป็นนักศึกษาที่นี่ เข้ามาเพื่อศึกษาหาความรู้ไปประกอบอาชีพก็ต้องทำให้สำเร็จ ตัวอย่างเช่น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตั้งจิตแน่วแน่ในการบวช เพื่อแสวงหาทางดับทุกข์ ท่านใช้เวลาแสวงหาอยู่ 6 ปี จึงสำเร็จ เพื่อจะได้นำหลักที่ค้นพบมาชี้แจงให้มนุษย์โลกได้รับรู้ การตั้งเป้าหมายชีวิตและจะดำเนินการให้สำเร็จ ต้องมีองค์ประกอบที่ดี คือ
- กายต้องสุจริต ไม่ละเมิดผู้อื่น ไม่ทำสิ่งไม่ดี
- วจี ต้องสุจริต ไม่พูดในสิ่งไม่ดี ทำให้เกิดการแตกความสามัคคี การพูดที่จะทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ไม่ควรปฏิบัติ
- มโน สุจริต จิตใจไม่คิดในสิ่งไม่ดี นั่นก็คือ การคิดดี พูดดี ทำดี จะเป็นทางนำไปสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้ยังจะต้องใช้อิทธิบาท 4 มาเป็นทางนำไปสู่ความสำเร็จด้วย คือ
- ฉันทะ คือความพอใจรักใคร่ในเป้าหมายชีวิตที่เราตั้งไว้ หากเกิดปัญหาก็อย่าน้อยใจเสียใจ ให้นึกว่าปัญหามีไว้แก้ เราต้องตรวจสอบว่าเป็นเพราะอะไร
- วิริยะ คือความเพียรพยายามทุกอย่างในชีวิตก็ต้องแก้ปัญหาไปไม่ท้อถอย ชีวิตทุกคนไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ก็ต้องพยายามต่อไป
- จิตตะ คือเราต้องตรวจสอบทุกขบวนการในกาย วาจา ใจ เราทุกวัน 
- วิมังสา คือหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น สำคัญคือเราต้องรู้ตัวเองตลอดเวลา คือ
เราตั้งเป้าหมายจะเรียนจบภายใน 4 ปี ก๊ต้องรู้ในตนตลอดเวลา ทำให้สำเร็จสรุปว่า เราทุกคนต้องมีเข็มทิศในการดำเนินชิวิตอย่างถูกต้อง อย่าปล่อยวางให้ล่วงเลยไปอย่างประมาทในวัย ในชีวิต ในกาลเวลา

 

ข้อคิดธรรมะ วันพฤหัสบดีที่9 กุมภาพันธ์ 2555
โดยท่านพระครูสอน วัดแจ้ง อ.เมือง จ.สงขลา

ท่านอาจารย์ขอเจริญพรคณาจารย์ โดยเฉพาะเหล่านักศึกษาทั้งหลาย การได้มาสมาทานศีลและทำบุญตักบาตรในวันนี้เป็นการทำบุญ บุญจะทำให้ชีวิตเป็นสุข นำมาซึ่งชีวิตที่ราบรื่่น ความสุขมี 2 รูปแบบ คือ สุขทางโลก และ สุขทางธรรม
สุขทางโลก คือกายสุข กินได้นอนหลับ สำหรับความสุขของคารวาท เกิดจากการใช้วัตถุ มีทรัพย์ ได้จ่ายทรัพย์ ที่สำคัญที่สุดคือการไม่มีหนี้สิน การไม่มีหนี้สินเป็นสุข การมีหนี้เป็นทุกข์แต่การมีเงินมาก มิได้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าจะมีสุขที่แท้จริงหรอก อาจจะเป็นทุกข์มากกว่าสุขก็ได้จึงเป็นสุขที่ไม่ถาวร
สุขทางใจ คือละโลภ โกรธ หลง ให้หมดไปได้ ก็จะเป็นสุขที่ถาวรยั่งยืน ท่านอาจารย์ยังให้ข้อคิด ให้นำไปปฏิบัติให้ได้ ก็จะเป็นการเติมความสุขให้เพิ่มขึ้น คือ ปิด ปล่อย เพิ่ม พอสุข
ปิด คือ การควบคุมกาย วาจา ใจ ไม่ให้กระทบอารามณ์ในด้านไม่ดี สิ่งที่เป็นอกุศล สิ่งไม่ดีทั้งหลาย ไม่ให้มีโลภ โกรธ หลง เมื่อไม่มีก็จะปลอดโปร่ง ซึ่งสมัยใหม่มักพูดว่า "อารมณ์บ่จอย"
ปล่อย คือทำใจให้ว่าง ปล่อยอารมณ์ต่าง ๆ กับความไม่ดีที่นำมาสู่ความไม่สบายใจ ปล่อยวางในสิ่งที่นำมาซึ่งในความไม่สบายใจ ปล่อย อย่าให้เครียดเป็นทุกข์ สุขภาพก็จะไม่ดี ระบบการหมุนเวียนต่าง ๆ ในร่ายกายจะไม่ปกติ ละโลภ โกรธ หลง ได้เมื่อใด ก็จะปลอดโปร่ง โรคภัยก็ไม่เกิด ยึดถือว่าทุกสิ่งทุกอย่าง มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา
เพิ่ม คือ เพิ่มคุณงามความดี มีคุณธรรม รักษาขนบประเพณีวัฒนธรรม ชื่อเสียง เกียรติยศ เพิ่มความดีให้ตนเอง สร้างบุญกุศล อย่างเช่นนักศึกษามาศึกษาที่นี่ ก็ต้องเพิ่มความรู้ กอบโกยวิชาความรู้ให้ได้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ในภายหน้า
พอสุข คือให้พอดีทั้งการกิน อยู่ หลับ นอน ตามสภาวะของตนเอง พอใจในสภาวะของตน ไม่ทะเยอทะยาน ให้เรามองให้ลึก มองให้ไกล ใจให้กว้าง ยกอคติ ความลำเอียง ไม่ชอบ ไม่โกรธ ไม่ชังให้อยู่ในสายกลางพอดี เราก็จะรักษาตัวให้อยู่เป็นสุขได้

สรุปว่า ให้ปลดกิเลส ปลดความดี ความทุกข์ ออกไป ลดละความผิดหรือทำชั่วทางกาย วาจา ใจปล่อยสิ่งไม่ดี ถ้าปล่อยไม่ได้ ใจไม่บริสุทธิ์ ถ้าใจบริสุทธิ์แล้วก็เติมแต่งด้วยศิลปะ มาเติมเต็มใจที่สะอาด บริสุทธิ์ โดยเฉพาะนักศึกษา เรียนจบ 4 ปี ไปสู่ชีวิตภายนอก ปรับปรุงตัวเองให้พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ก็จะเป็นสุขแล้ว

 

999arch คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์